ดื่มครั้งละ 50 ml. ( หรือ 2 ช้อนโต๊ะ) แล้วดื่มน้ำตาม
** แนะนำให้ดื่ม วันละ 2 ครั้ง คือ ดื่มในตอนเช้า หลังจากตื่นนอน ก่อนมื้ออาหารเช้า 30 นาที และ ในตอนเย็น ก่อนมื้ออาหารเย็น 30 นาที
ใช้ผสมกับน้ำ อุ่น/ร้อน ในอัตราส่วน 1:1
คือ น้ำร้อนหรืออุ่น 1 ส่วน และ น้ำมหาพิกัดตรีผลาเข้มข้น 1 ส่วน หรือ หากยังมีความเข้มข้นมากเกินไป ให้ปรับอัตราส่วนเป็น 2:1 ก็ได้ หรือปรับได้ตามชอบ ( การดื่มแบบอุ่น จะดีที่สุด หรือ หากต้องการดื่มเพื่อความสดชื่นและดับกระหาย ก็สามารถดื่มแบบเย็นได้เช่นกัน) ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ( ปริมาณ 100 – 150 ml. ) วันละ 2 ครั้ง ดื่มในตอนเช้า หลังจากตื่นนอน ก่อนมื้ออาหารเช้า 30 นาที และ ในตอนเย็น ก่อนมื้ออาหารเย็น 30 นาที
❌ ห้ามดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะลงท้องได้ ( ทำให้ท้องเสีย หรือท้องเดิน ได้ สำหรับในคนที่ธาตุอ่อน)
หากต้องการใช้เป็นเครื่องดื่มแบบ Drink all day (ดื่มตลอดทั้งวัน)
ควรปรับส่วนผสมให้เจือจางลง ด้วยอัตรา น้ำมหาพิกัดตรีผลาเข้มข้น 1 ส่วน ต่อ น้ำร้อน 3-4 ส่วน เป็นต้น ก็สามารถดื่มเป็น Soft drinks ดื่มได้ตลอดวันได้เช่นกัน
สามารถปรุงรสเพิ่มได้ เพื่อให้อร่อยชวนดื่ม เช่น เติม น้ำมะนาว , น้ำเชื่อม, น้ำผึ้ง หรือ เกลือแต่งรส ก็จะได้น้ำกระสายยาที่อร่อยมากขึ้น ชวนให้ดื่มไม่น่าเบื่อเหมือนกินยาขมๆ
ดื่มตอนไหน ?
1. ช่วยย่อยอาหาร แก้อาเจียน = ให้ดื่มตอน หลังอาหาร เช้า-เย็น
2. ช่วยนอนหลับสบาย = ให้ดื่มตอน ก่อนเข้านอน
3. ช่วยขับถ่าย = ดื่มตอนตื่นนอน 1 แก้ว และดื่มก่อนเข้านอน 1 แก้ว
รสชาติ เป็นอย่างไร ?
รสชาติของ เครื่องดื่มสมุนไพร มหาพิกัดตรีผลา ทุกตำรับ จะมีรสชาติที่ใกล้เคียงกันคือ มีรสเปรี้ยวนำ และฝาด มีความขมเพียงเล็กน้อย หากคุณสามารถดื่มกาแฟดำ ( อเมริกาโน่ ที่ไม่ใส่น้ำตาล ) ได้ คุณก็สามารถดื่มมหาพิกัดตรีผลาได้ไม่ยากเย็นนัก แต่หากรสชาติเป็นอุปสรรค์ในการดื่ม เราแนะนำให้คุณเจือจางด้วยน้ำเปล่า ตามสัดส่วนทีต้องการ หรือผสมน้ำผึ้ง หรือ น้ำผลไม้ได้ ตามอัธยาศัย
สรรพคุณคือ ช่วยในการเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ , ช่วยเพิ่มคอลลาเจน จึงทำให้ผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น , ช่วยปรับธาตุ ปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต, ชำระเมือกมันในผนังลำไส้, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ป้องกันการเกิด โรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมการขับถ่ายและหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณในการยับยั้งและต้านเซลล์มะเร็งได้ รวมทั้งในกรณีที่หากเกิดเซลล์มะเร็งขึ้นมาแล้ว ยังมีผลทำให้เซลล์มะเร็งโตช้าอีกด้วย เรื่องนี้ยืนยันได้จากผลวิจัยทั้งของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อ้างอิง ๑)
ตรีผลา เป็นยาแผนโบราณที่ปลอดภัย ไร้พิษข้างเคียงใดๆ มันช่วยล้างพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกายของเรา โดยเฉพาะที่มุ่งเน้นระบบทางเดินอาหาร ช่วยดีท๊อกซ์ ล้างเมือกมันในผนังลำใส้ที่ตกค้างจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง, ดูแล ระบบเลือด, ระบบน้ำเหลือง และใช้ได้กับคนทุกธาตุ ทุกเพศทุกวัย
“ตรี” ที่ซึ่งแปลว่า สาม (๓) และคำว่า “ผลา” นั้นแปลว่า ผลไม้
เรียกรวม ตรีผลา คือ “ผลไม้สามชนิด”
แปลความได้ว่า “ตรีผลา” คือ ตำรับยาที่ประกอบด้วย ผลไม้ 3 ชนิด คือ
มะขามป้อม , สมอไทย และ สมอพิเภก
1. สมอไทย (Terminalia chebula Retz.)
: มีรสชาติ = เปรี้ยว+ฝาด+ขม แทรกด้วยรสเค็มเล็กน้อย
สรรพคุณ : ช่วยกัดเสมหะ, แก้ไอ, ลดการกระหายน้ำ, แก้ท้องผูก, แก้ไข้ , บำรุงน้ำดี และ ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง , แก้ลมจุกเสียด , แก้พิษร้อนใน , ขับลมในลำไส้ รสฝาดในสมอไทย ช่วยสมานแผลได้, แก้โรคกระเพาะอาหาร คนโบราณมักกล่าวว่า กินสมอไทยเพียงอย่างเดียว เท่ากับ กินสมุนไพร หลากหลายชนิด…
2. สมอภิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.)
: มีรสเปรี้ยว+ฝาด แทรกด้วย อมหวาน
สรรพคุณ : ตามตำรายาไทย แก้เสมหะจุกคอ, แก้ไข้ และแก้โรคริดสีดวงทวาร , รักษาท้องร่วงท้องเดิน , แก้โรค รักษาโรคท้องมาน ส่วนที่ใช้คือ ผลแก่เต็มที่ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา ช่วยลดความดันโลหิต, ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
3. มะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.)
: มีรสเปรี้ยว ฝาด+ขม
สรรพคุณ : แก้ไอ , ช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ และมีวิตามินซีสูง ( มะขามป้อม1 ผล มีวิตามินเทียบเท่ากับส้ม 2 ผล ) เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวง, แก้บิด แก้ท้องเสีย ,ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยปัสสาวะ ใช้ควบกับธาตุเหล็กใช้แก้โรคดีซ่าน
มหาพิกัด ตรีผลา คืออะไร ?
“ตรีผลา” ในวิชาเภสัชแผนไทย ยังมีความละเอียดอ่อนและลึกซึ้งไปอีกขั้น ที่เรียกว่า
“มหาพิกัด”ตรีผลา
กล่าวคือ …. การนำตัวยาหลายสิ่ง ( 3 อย่าง) มารวมเข้าด้วยกัน โดยมีปริมาณของตัวยาในมหาพิกัด ในแต่ละสิ่ง “ไม่เท่ากัน” ทั้งนี้ ก็เพื่อเน้น ใช้ แก้ในกองสมุฏฐาน แก้ในกองธาตุ กำเริบ-หย่อน-พิการ หรือใช้แก้โรคแทรก,โรคตาม โดยยังอยู่ในขอบเขตน้ำหนักตัวยาที่กำหนดไว้ชัดเจน
?? เหตุที่ใช้ยา สามตำรับนี้ ก็เพราะในแต่ละชนิดจะ “ช่วยอาการข้างเคียงของกันและกัน” เช่น สมอพิเภกมีรสเปรี้ยว อาจจะทำให้มวนท้อง ท้องเสียได้ จึงต้องมีสมอไทย และมะข้ามป้อม ที่มีรสฝาด ขม มาช่วยลดอาการดังกล่าว นั่นจึงเป็นที่ว่าของสรรพคุณ “รู้ปิดรู้เปิด” คือ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง (ระบายแล้วหยุดได้เอง)
ข้อมูลเพิ่มเติม และเอกสารอ้างอิง ...
https://www.bagindesign.com/great-recipe-triphala/